เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 1/2557 Topic:ชีวิตสัมพันธ์
เป้าหมาย:รู้และเข้าใจเกี่ยวกับประเภท วัฎจักรชีวิตของสัตว์สภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน และตระหนักถึงความำคัญของสัตว์ เพื่อรักษาให้สิ่งแวดล้อมเกิดความสมดุลทางธรรมชาติ


Week 6


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยโครงงาน เรื่อง (Topic) : = ชีวิตสัมพันธ์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, 5
Week 6 : เป้าหมายรายสัปดาห์ นักเรียนสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาสร้างสรรค์ชิ้นงานและสามารถเผยแพร่ให้ชุมชนเข้าใจ เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์พืชในท้องถิ่นได้
Input
Process
Out Put
Outcome
โจทย์
นำเสนอและเผยแพร่ชิ้นงาน

คำถาม
นักเรียนจะนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์พืชให้ผู้อื่นรู้จักได้อย่างไร
นักเรียนจะสามารถหาข้อมูลและสร้างสรรค์ชิ้นงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์พืชได้อย่างไร

ครื่องมือคิด
Brainstorm : ระดมความคิดเกี่ยวกับการนำเสนอชิ้นงาน
Backboard Share : ระดมความคิดเกี่ยวกับชิ้นงาน
Show and Share : นำเสนอความคืบหน้าของงาน
Rourd Rubin : ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ
Wall Thinking : Storyboard ของแต่ละกลุ่ม

สื่อ/แหล่งเรียนรู้ :
ครูกระตุ้นการคิด อำนวยการเรียนรู้
นักเรียนระดมความคิด
บรรยากาศในชั้นเรียน
ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน
ห้องสมุด
คอมพิวเตอร์, ipad และอินเตอร์เน็ต






ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม
นักเรียนจะนำเสนอชิ้นงานที่นักเรียนจัดทำขึ้นให้ผู้อื่นรู้จักได้อย่างไร
นักเรียนจะสามารถหาข้อมูลที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์พืชได้อย่างไร

เชื่อม
นักเรียนจะนำเสนอการอนุรักษ์พันธุ์พืชให้ผู้อื่นรู้จักได้อย่างไร ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorm
แบ่งนักเรียนเป็น กลุ่ม นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการอนุรักษ์พันธุ์พืชที่แต่ละกลุ่มได้เลือก (ติดตา ต่อกิ่ง ฯลฯ)
แต่ละกลุ่มวางแผนการหาข้อมูล เช่น สัมภาษณ์ บันทึกข้อมูล หาแหล่งข้อมูล เป็นต้น
นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ร่วมกันในกลุ่ม
นักเรียนจะนำเสนอเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์พืชในรูปแบบใดให้น่าสนใจผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
เขียนเค้าโครงสิ่งที่จะนำเสนอเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์พืช แต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงาน เช่น ทำ Storyboard เป็นต้น
นักเรียนนำเสนอความคืบหน้าของงานปัญหาและอุปสรรคขณะทำงาน แนวทางการแก้ปัญหา

ใช้
นักเรียนสรุปองค์ความรู้จากการศึกษาสร้างสรรค์ชิ้นงานผ่านชาร์ตความรู้ เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์พืชในท้องถิ่น
นักเรียนสามารถเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์พืชในท้องถิ่น
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6
ชิ้นงาน/ภาระงาน
เก็บข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์พืชในท้องถิ่น
ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับการจำแนกประเภทของพืช พันธุ์พืชในท้องถิ่น
นำเสนอการอนุรักษ์พันธุ์พืชในท้องถิ่น
ทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6


ความรู้
รู้และเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของพืช การขยายพันธุ์และการอนุรักษ์พันธุ์พืชในท้องถิ่น
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างคนในชุมชนกับป่า การพึ่งพาระหว่างป่ากับคนและความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ
เข้าใจระบบนิเวศ
การทำงานเป็นทีม ประสานงานร่วมกับชุมชน และการนำเสนอผลงาน

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์จากปัญหาที่พบและหาแนวทางแก้ไข
ทักษะการสื่อสารและการถ่ายทอดกับผู้อื่น
ทักษะการทำงานร่วมกับคนในชุมชน
ทักษะการทำงานภายในระยะเวลาที่จำกัด เพื่อหาวิธีการในการเผยแพร่ข้อมูล

คุณลักษณะ
1. เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่นเห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
2. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียงข้อมูลจากการค้นคว้าสร้างสรรค์ชิ้นงานการอนุรักษ์พันธุ์พืชในท้องถิ่นและสรุปองค์ความรู้ร่วมกัน
3. มีกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอน มีความรับผิดชอบ อดทนและเอาใจใส่ในการทำงาน
4. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ที่มีความแตกต่างจากตนโดยปราศจกาอคติ
5. กล้าที่จะเป็นผู้นำและนำเสนอโครงการต่อโรงเรียนและชุมชน

บันทึกหลังการสอนสัปดาห์ที่ 6 : นักเรียนสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาสร้างสรรค์ชิ้นงานและสามารถเผยแพร่ให้ชุมชนเข้าใจ ในสัปดาห์นี้ครูให้นักเรียนทำแผนและสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลที่ได้ศึกษามาตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-5 นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและพืชในท้องถิ่นของนักเรียนเอง เริ่มจากนักเรียนได้เริ่มวางแผนและกำหนดว่าใครจะทำอะไรและสัปดาห์นี้ตรงกับวันสุนทรภู่และวันต่อต้านยาเสพติด ในการนำเสนอนักเรียนได้มีการสร้างจิตสำนึกไห้กับผู้รับฟังในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความสำคัญของธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนและทำให้ผู้ที่รับฟังการนำเสนอได้ความรู้ในด้านการเจริญเติบโตของพืช และวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นเมื่อพืชเกิดโรคระบาด นักเรียนได้มีการหมอบเมล็ดพืชไห้กับผู้รับฟังเพื่อนำไปเพาะปลูกเองตามขั้นตอนที่บรรยายในการนำเสนออีกด้วย สื่อที่นักเรียนนำเสนอผู้รับฟังสามารถนำไปปฏิบัติจริงและได้ผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น